top of page

สังคมศึกษา

   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสํานักสงฆ์จันทรัตนาราม สามารถสรุปออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การเผยแผ่ แบบด ั้ งเดิม การเผยแผ่แบบสมัยใหม่ และการเผยแผ่ตามวาระ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 1. การเผยแผ่แบบด ั้ งเดิม คือ ลักษณะการส ื่ อสารหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปยังพุทธศาสนิกชนชาว มาเลเซีย โดยตรง เช่น การเทศนา การสนทนาธรรม ปาฐกถาธรรม และการสนทนาธรรม โดย พระครูวิศาล ประชาทร (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2562) กล่าวว่า ตนได้เคยร่วมคณะเดินทางเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกับ คณะสงฆ์สํานักสงฆ์จันทรัตนารามอยู่บ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซียจะเป็นผู้นิมนต์ให้ไปร่วมสวด มนต์ที่บ้าน แสดงธรรม และนําปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในช่วงเวลาสั้น ๆ ของแต่ละเดือน หรือในบางครั้ งก็มีการ รวมกลุ่มของพุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซีย แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากสํานักสงฆ์จันทรัตนารามไปร่วมกิจกรรมทาง ศาสนา พระครูวิชิตพุทธิคุณ (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2562) กล่าวเพ ิ่ มเติมว่า การไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ประเทศมาเลเซีย นอกจากจะไปตามกิจนิมนต์ของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังมีการชักชวนให้กุลบุตรได้เข้ามาบวชใน บวรพระพุทธศาสนา โดยจะเข้ามาบวชและปฏิบัติธรรมอยู่ที่สํานักสงฆ์จันทรัตนาราม อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติของพระสงฆ์ผู้ทําหน้าท ี่ เผยแผ่พระพุทธศาสนา ต้องมีความแม่นยําในหลักของ พระพุทธศาสนามีทั้งภูมิธรรม-ภูมิปัญญา สามารถใช้ภาษาและวิธีสอน ที่สามารถส ื่ อกับประชาชนได้มีความสามารถ ในใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการเผยแผ่ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และสามารถปรับตัวเข้ากับ สังคมน ั้นได้ดีเป็นผู้ที่มีหลักมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์และประชาชนได้ดีและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทางด้าน การศึกษาให้กับความต้องการของวัดและสังคม (พระมหาถนัด อตฺถจารีและพระปลัดอําพล สุธีโร,2543) ซึ่ง พระสุ ชาติ สุชาโต (สัมภาษณ์, 5 มีนาคม 2562) กล่าวว่า พระสงฆ์ที่จะเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย จะต้องเข้าใจลักษณะความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซียก่อน ซึ่งจะมีความเช ื่อในเรื่ องส ิ่ งศักดิ์สิทธ ิ์ เคร ื่ องรางของขลัง ซึ่งในเบื้ องต้นก็มีความจําเป็นต้องตอบสนองความต้องการของเขาเหล่าน ั้นเป็นเบ ื้ องต้นก่อน แล้ว จึงน้อมนําเขาให้เข้าสู่หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิและปัญญา

 2. การเผยแผ่แบบสมัยใหม่ หมายถึงการนํานวัตกรรมที่มีในสังคมปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา เช่น สื่อเทคโนโลยีสื่อส ิ่ งพิมพ์ เป็นต้น สําหรับสํานักสงฆ์จันทรัตนาราม ได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ และหนังสือสวดมนต์เป็นภาษาจีน เพ ื่ ออํานวยความสะดวกแก่พลเมืองมาเลเซียเช ื้ อสายจีนได้ใช้สวดมนต์และศึกษา หลักคําสอนทางศาสนา (พัฒนา มณีโชติ, สัมภาษณ์ 8 มีนาคม 2562) นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่อออนไลน์เช่น เฟส บุค ไลน์เพ ื่ อส ื่ อสารธรรมะระหว่างพระสงฆ์และพลเมืองมาเลเซียท ี่ ศรัทธาอีกด้วย (พระขวัญชัย สมศรี, สัมภาษณ์ 4 มีนาคม 2562) ซึ่งสอดคล้องกับ พระครูสุจิตร บุญญากร และ ประณต นันทิยะกุล (2560) ได้สรุปการเผยแผ่ศาสนา ของพระสงฆ์ว่ามีทั้งแบบประเพณีแบบปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพสังคมปัจจุบัน และแบบที่ดําเนินการเฉพาะ ซึ่ง การเผยแผ่ศาสนามีทั้งในการตีพิมพ์ลงวารสาร และงานพระธรรมทูต เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่า ลักษณะการเผยแผ่แบบสมัยใหม่ยังดําเนินการได้ไม่เต็มท ี่ เพราะสํานักสงฆ์ยังขาด บุคลากรที่มีความเช ี่ ยวชาญ ทั้งในด้านเทคโนโลยีและทักษะทางภาษา ลักษณะที่ทําอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การพิมพ์บทสวดมนต์เป็นภาษาจีน เป็นการช่วยเหลือของพุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซียเอง วารสารสจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปีที่ 1 ฉบับที่ 1-2 : มกราคม - เมษายน และพฤษภาคม - สิงหาคม 2562 36 ที่ใช้วิธีการพิมพ์เทียบสําเนียงภาษาบาลีเพ ื่อให้สามารถกล่าวบทสวดมนต์ได้ไปพร้อมกันกับพระสงฆ์ (พระสุชาติ สุชาโต, สัมภาษณ์, 5 มีนาคม 2562)

 3. การเผยแผ่ตามวาระ หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆ เพ ื่ อสนับสนุนให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ประเทศมาเลเซียมีประสิทธิภาพมากย ิ่ งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า นอกจากการเผยแผ่ศาสนา ได้แก่การเทศนา ปาฐกถา ธรรม หรือการใช้สื่อเทคโนโลยีแล้วยังพบว่า สํานักสงฆ์จันทรัตนารามได้มีการจัดกิจกรรมประเพณีต่างๆ อย่าง สมาเสมอ ทั้งภายในประเทศมาเลเซีย หรือการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนมาเลเซียมาร่วมกิจกรรมของสํานักสงฆ์ใน ประเทศไทย ทั้งน ี้ เพ ื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซียได้ซึมซับในวิถีชีวิตของชาวพุทธ ซึ่งนอกจากจะต้องยึดม ั่นใน หลักไตรสิกขา แล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่เก ี่ ยวข้องเพ ื่อให้ชาวพุทธได้สร้างบุญกุศล เช่น งานประเพณีสงกรานต์บุญ เดือนสิบ ลอยกระทง งานทอดกฐิน และผ้าป่า เป็นต้น (พระครูวิศาลประชาทร, สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2562) นอกจากนี้สํานักสงฆ์จันทรัตนาราม ยังมีการจัดสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ เพ ื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซียนําไปเป็น เคร ื่ องยึดเหน ี่ ยวจิตใจ และยังมีการสร้างวิหารพระโพธิสัตว์กวนอิม เพ ื่อให้สักการบูชาด้วย (ทนงศักด ิ์จิตกวี, สัมภาษณ์ 7 มีนาคม 2562) ทั้งน ี้ เพราะพุทธศาสนิกชนชาวมาเลเซีย จะมีเช ื้ อสายจีนซ ึ่ งมีความคุ้นเคยกับ พระพุทธศาสนามหายานมาก่อนแล้ว จึงเป็นลักษณะของการบูรณาการทางความเช ื่ อพร้อมกันไปด้วย

bottom of page