top of page

ศิลปะ

 ทัศนธาตุ(Visual Element)

    ทัศนธาตุ เป็นสื่อสุนทรียภาพที่ศิลปินนำมาประกอบกันเข้าเป็นรูปทรง เพื่อสื่อความหมายตามแนวเรื่องหรือแนวความคิดที่เป็นจุดมุ่งหมาย ได้แก่

               เส้น(Line) คือสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างจุด2จุด มิติของเส้นประกอบด้วยเส้นตรง เส้นโค้ง เส้นคด หรือ เส้นหยัก เส้นต่างๆ นี้จะสามารถแทนค่าของรูปทรงของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติทั้งหมด เส้นจะให้ความรู้สึกต่างๆ เช่น ความรวดเร็ว ความมั่งคงแข็งแรง ความอ่อนหวาน ศิลปินจะใช้เส้นสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้เกิดความหมายและอารมณ์สะเทือนใจในงานศิลปะ

               สี (Colour) เป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับการแสดงออกในงานจิครกรรม เพราะสีเป็นวัตถุธาตุที่สามารถระบายภาพเขียนให้ได้คุณค่าความงามและความรู้สึกทางศิลปะที่สมบูรณ์ โดยจะต้องเข้าใจถึงหลักการใช้สีและทฤษฎีของสีเป็นอยวงล้อสี (Colour wheel)

                  รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form) 'รูปร่าง' เป็นรูปที่มีลักษณะ2มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่มีความหนา เกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่างๆ “รูปทรง” เป็นรูปที่มีลักษณะ3มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา ทำให้เกิดความรู้สึกมีปริมาตร มีมวลสาร รูปทรงนั้นประกอบด้วย

            รูปทรงจากธรรมชาติ (Organic Form) เป็นรูปทรงของสิ่งมีชีวิต ได้แก่  รูปทรงของคน สัตว์ หรือสิ่ง ต่างๆ ในธรรมชาติ

          รูปทรงเรขาคณิต (Geometric Form) เป็นรูปทรงที่มีมาตรฐานแน่นอน สามารถวัดหรือคำนวณได้ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลื่ยม รูปวงกลม

           รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นทรงที่เกิดขึ้นอย่างอิสระตามอิทธิพลและการ กระทำของธรรมชาติไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน เช่น เมฆ ก้อนหิน ควันไฟ

      

  รูปทรงเรขาคณิต

                            ปริมาตร (Volume) คือ มวลสิ่งของที่มีลักษณะเป็น3มิติ เช่นปรมาตรของผลส้ม ต้นไม้ รูปปั้น ปริมาตรในงานจิตรกรรมจะเป็นภาพลวงตาที่ให้ความรู้สึกทางสายตาเท่านั้น การสร้างปรมาตรนี้จะช่วยให้งานจิตรกรรมมีความสมบูรณ์ในมิติ (Dimension)ความตื้นลึก และระยะใกล้ไกล ตามหลักของทัศนียวิทยา

                     มวลหมู่ (Mass) หมายถึง กลุ่มของรูปทรง และมวลปริมาตรในการสร้างสรรค์ศิลปะ การให้ความรู้สึกในการเกิดมวลหมู่ของกลุ่ม รูปทรง ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ อาคารบ้านเรือน ที่สอดประสานสัมพันธ์กับมวลปริมาตร จะช่วยให้ผลงานนั้นๆเกิดพลังดึงดูดความสนใจ และเร้าตรึงอารมณ์สุนทรีภาพของผู้ชม

                    พื้นที่ (Space) คือบริเวณพื้นที่ว่าง ในทางศิลปะหมายถึง กระดาษ ผ้าใบ หรือพื้นผิวอื่นๆที่จะใช้เป็นสื่อในการสร้างสรรรค์งานจิตรกรรม หากเป็นงานประติมากรรม พื้นที่ คือ บริเวณที่จะประดับ ตกแต่งงานประติมากรรม

                   น้ำหนัก (Tone) ในการสร้างสรรค์ศิลปะโดยเฉพาะทางจิตรกรรม หมายถึง ค่าของสี คือความอ่อน-แก่ หรือ มืด-สว่าง ของภาพ ซึ่งอาจแยกอย่างกว้างๆได้ 3ค่า คือ ค่าสีอ่อน ค่าสีกลาง ค่าสีแก่ แต่หากจะให้ละเอียดมากขึ้นจะแบ่งเป็น 3,7,9, ถึง 12 ค่า เรียกค่าอ่อน-แก่ของสีนี้ว่าChiaroscuro (คีอาร์ระสคิวโร) ค่าของสีหรือน้ำหนักอ่อน-แก่ของสี จะช่วยให้ภาพเกิดความรู้สึกในระยะ ตื้น-ลึก ใกล้-ไกล

                  พื้นผิว (Texture) หมายถึง ผิววัสดุของการสร้างสรรค์ศิลปะ เช่นการเขียนภาพสีบนแผ่นกระดาษผิวเรียบ หรือผิวหยาบ การสร้างประติมากรรมโลหะผิวขัดมัน หรือผิวหินสลัก ในการสร้างสรรค์งานศิลปะจะต้องคำนึงถึงเรื่องของพื้นผิวให้เข้ากับเนื้อหา หรือเรื่องราวที่จะแสดงออกตามลักษณะความแตกต่าง เช่น ผิวเรียบเป็นมันของหินอ่อน ผิวขรุขระของก้อนหิน

 

       องค์ประกอบศิลป์(Composition)

                     องค์ประกอบศิลป์ เป็นทฤฎีแห่งองค์ประกอบ หรือกฎเกณฑ์ของเอกภาพ เป็นกฎเกณฑ์เพื่อการประกอบกัน การจัดระเบียบ หรือการประสานกันของทัศนธาตุ เป็นสิ่งใหม่ที่มีความหมายในตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยเอกภาพ ความสมดุลยภาพ และสัดส่วน

                         เอกภาพ (Unity) คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความกลมกลืนเข้ากันได้ ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของส่วนต่างๆในทางศิลปะคำว่า เอกภาพ หมายถึง การประสานหรือการจัดระเบียบของส่วนต่างๆให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้น

                  เอกภาพประกอบด้วยกฎหลัก 2 ประการ คือ

       1.การขัดแย้ง (Opposition) เป็นลักษณะการขัดแย้งกันของขนาด ทิศทาง ที่ว่าง หรือองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้งานเกิดเอกภาพ

        2.การประสาน (Transition) คือการทำให้เกิดความกลมกลืน เป็นการช่วยรถความขัดแย้ง ทำให้คู่สีความขัดแย้งกลมกลืนเข้าหากัน

        กฎรองของเอกภาพ มี 2 ประการ คือ

         1.ความเด่น ในธรรมชาติหรืองานศิลปะจะต้องมีบางสิ่งที่เด่นเป็นเอกภาพ และบางสิ่งที่เป็นรองเพื่อเน้นความเด่นนั้น เช่น ดอกไม้มีสีสันรูปทรงต่างจากใบหรือกิ่งก้านเพื่อเน้นจุดสนใจ ดอกไม้จึงเป็นความเด่นของต้นไม้

            2. การเปลี่ยนแปร การเปลี่ยนแปรของหน่วยที่เหมือนกันหรือซ้ำกันจะช่วยเร้าหรือกระตุ้นความสนใจ เช่น ท้องฟ้ามีสีเหมือนกันแต่สีสันจะแตกต่างไปตามสภาพของแสง-เงา ความเข้ม-สว่าง ของแต่ละจุด ดังนั้นสีฟ้าของท้องฟ้าจึงเป็นความเหมือนที่แตกต่าง

          ความสมดุลหรือดุลยภาพ (Balance) ในทางศิลปะหมายถึงความประสานกลมกลืน ความลงตัวพอเหมาะพอดีของส่วนต่างๆความสมดุลมี 2 แบบ คือ

               1. ความสมดุลแบบสมมาตร เป็นการสมดุลแบบ 2 ข้างเท่ากัน เหมือนกัน  

               2. ความสมดุลแบบอสมมาตร เป็นการสมดุลแบบ2 ข้างไม่เท่ากัน

   สัดส่วน (Proportion) การจัดทัศนธาตุให้มีสัดส่วนที่สัมพันธ์กันและมีความสมส่วนกันของรูปทรงและระหว่างรูปทรง ของรูปทรงกับพื้นที่ รวมถึงความสมส่วนหรืออัตราส่วนที่เหมาะสมของทัศนธาตุ                                                                                        

https://sites.google.com/site/nittayapimson6/thsnthat-laea-xngkh-a-u-prakxb-silpa

bottom of page